ทั้งนี้ ได้มีสมาชิกกลุ่ม “รักอากง เซียนแปะโรงสี” ได้ออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า…
เนื่องในโอกาสวันครบรอบวันเกิดอากงในปีนี้ ตรงกับวันที่ 30 สิงหาคม 2563 มีบทความอธิบายเพื่อความชัดเจนในเรื่องการนับอายุของอากงอ้างอิงปฏิทินจัทรคติแบบจีนเปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น ( เครดิตคุณหมอ @vardhana anusandhivansa )
สมาชิกกลุ่ม “รักอากง เซียนแปะโรงสี”
ขออนุญาตแอดมินและสมาชิกทุกท่าน เนื่องจากเห็นสองสามวันนี้ มีสมาชิกหลายท่านเข้ามาโพส ครบรอบ 122 ปีชาตกาลของอากง ซึ่งถ้าหากท่านเกิดเมื่อปีวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2441 (ขอบคุณภาพประกอบจากเฮียเหลียงครับ) ชาวจีนจะนับอายุในท้องด้วย เมื่อคลอดจะนับอายุเป็น 1 ขวบปี
หรือถ้าหากเราอ้างอิงจากข้อความบนเหรียญรุ่นแรก (ขอบคุณภาพเหรียญรุ่นแรกจากเฮีย PK ครับ) ซึ่งมีข้อความสองบรรทัดดังนี้ครับ
吳錦溪仙
คำแปล 吳錦溪仙 เซียนโง้วกิมโคย
七十九歲誕壽紀念牌公元一九七六年農曆七月十二日
คำแปล 七十九歲誕壽紀念牌 เหรียญที่ระลึกอายุวัฒนมงคล ๗๙ ปี
公元一九七六年 คริสตศักราช ๑๙๗๖ 農曆七月十二日 จันทรคติกาล เดือน ๗ วันที่ ๑๒
หากปี ค.ศ.1976 อากงท่านอายุครบรอบ 79 ปี ปีนี้ ค.ศ.2020
อายุของท่านจะเป็น (2020-1976)+79 = 123 ปี
และอีกตัวอย่างหนึ่ง เมื่อครั้งเฮีย PK สร้างเหรียญกตัญญู 120 ปี (ขอบคุณภาพเหรียญจากโพสเฮียชัยครับ) ในปี พ.ศ.2560 นับมาถึงปีนี่ พ.ศ.2563 ก็เท่ากับ 123 ปีเหมือนกันครับ แสดงว่าเหรียญกตัญญูนับปีชาตกาลของอากงถูกต้องครับ
ฝากให้สมาชิกทุกท่านพิจารณากันนะครับ
สมาชิกกลุ่ม “รักอากง เซียนแปะโรงสี”
ข้อมูลเพิ่มเติม
เซียนแปะโรงสี หรือ อาจารย์โง้ว กิมโคย หรือชื่อขณะยังมีชีวิต นที ทองศิริ และ กิมเคย แซ่โง้ว เป็นชาวจีนที่มีความเชี่ยวชาญด้านพิธีกรรม ความเชื่อจีน และ ฮวงจุ้ย ท่านอาศัยและประกอบธุรกิจโรงสีอยู่ในจังหวัดปทุมธานี หลังท่านเสียชีวิตลงได้รับการยกขึ้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และได้รับการเคารพนับถือในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานครและปทุมธานี ท่านเป็นที่รู้จักจากความศักดิ์สิทธิ์ในทางปลดหนี้ การค้า และกันภัย และจาก “ยันต์ฟ้าประทานพร” ซึ่งเป็นยันต์ประจำตัวของท่านซึ่งได้รับการเคารพบูชาในหมู่นักธุรกิจที่มีเชื้อสายจีน
นามเดิมของท่านคือ นายกิมเคย แซ่โง้ว เป็นชาวจีน เกิดที่ตำบลเท้งไฮ้ เมื่อราวปี พ.ศ. 2440 – 2441 เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเมื่อายุได้ราว 10 ปี ต่อมาประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ค้าข้าวเปลือก เมื่อตั้งตัวได้จึงร่วมหุ้นก่อตั้งโรงสีข้าวบริเวณปากคลองบางโพธิ์ล่าง ปัจจุบันคือตำบลบางเดื่อ อำเภอเมืองปทุมธานี เมื่ออายุได้ 22 ปี ท่านได้สมรสกับนางนวลศรี เอี่ยมเข่ง มีบุตรธิดารวม 10 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก 4 คน หลังจากนั้นท่านได้ตั้งกิจการโรงสีของตนเองบริเวณปากคลองเชียงราก ใกล้กับวัดศาลเจ้า พร้อมทั้งได้รับสัญชาติไทย และเปลี่ยนชื่อเป็นนายนที ทองศิริ ท่านมีความสำคัญมากต่อการดำเนินงานของวัดศาลเจ้า บูรณะซ่อมแซม และจัดการพิธีกรรมต่าง ๆ ในงานสำคัญของศาลเจ้าตั้งแต่ยังเป็นเพียงอาคารไม้เก่า ๆ ในหลายครั้งท่านได้แสดงปาฏิหารย์ในพิธีกรรมต่าง ๆ จนเป็นที่เชื่อกันว่าท่านเป็นบุคคลที่ “มีองค์” ของเจ้าพ่อวัดศาลเจ้าประทับในตน นอกจากนี้ท่านเป็นผู้มีเมตตาชอบช่วยเหลือและให้คำปรึกษาด้านความเชื่อจีน จึงทำให้มีผู้ศรัทธาทั่วไป ท่านเสียชีวิตลงเมื่อปี พ.ศ. 2526 ด้วยวัย 85 ปี ที่โรงพยาบาลพญาไท ปัจจุบันศาลเจ้าของท่านตั้งอยู่ศาลานที ทองศิริ ภายในวัดศาลเจ้า จังหวัดปทุมธานี
ที่มา : wikipedia
Comments are closed.